วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เปิดคำตอบ 6 ผู้สมัครชิงผู้ว่าฯกทม. ประชันวิสัยทัศน์ผู้สมัครผู้ว่าฯกทม."


13 กุมภาพันธ์ 2556 Bangkok Election - ศูนย์ติดตามประชาธิปไตยไทย ร่วมกับหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการเมืองและการจัดการปกครอง ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานเสวนา "ประชันวิสัยทัศน์ผู้สมัครผู้ว่าฯกทม."

การเสวนาถูกแบ่งออกเป็น 3 ช่วง
1.ให้ผู้สมัครนำเสนอวิสัยทัศน์ แนวโยบาย และความเห็นการบริหารกรุงเทพฯ
2.เปิดคำถามจากประชาชนถามผู้สมัครผู้ว่าฯกทม. ประกอบด้วย มีนโยบายในการจัดทำผังเมืองรวมในเขตเศรษฐกิจ ที่พักอาศัย เขตเมืองเก่า เมืองใหม่อย่างไร จำเป็นหรือไม่ผู้ว่าฯกทม.ต้องดึงการจัดการมาจากรัฐบาลกลาง มีแนวทางสร้างความสมดุลระหว่างหาบเร่แผงลอย และคนเดินเท้าอย่างไร มีนโยบายการมีส่วนร่วมช่องทางกลไกของประชาชนอย่างไร จะสร้างระบบขนส่งมวลชนให้ใช้งานครอบคลุมอย่างไร จะมีนโยบายสร้างที่พักหรือจุดบริการน้ำดื่มฟรีให้มอเตอร์ไซค์รับจ้าง หรือแท็กซี่อย่างไร
3.คำถามจากผู้เข้าร่วมการเสวนา ประกอบด้วย จะแก้ปัญหาปากท้องอย่างไร มีแนวทางแก้ปัญหารกาเก็บค่าต๋งวินมอเตอร์ไซค์ แท็กซี่อย่างไร มีนโยบายจัดสรรพื้นที่สาธารณะให้เยาวชนอย่างไร ให้กรุงเทพฯเป็นเมืองรักการอ่านอย่างไร และผู้สมัครผู้ว่าฯกทม.ในนามอิสระ ลงเลือกตั้งเพื่อหยั่งเสียงคนกรุงเทพฯ เพื่อเตรียมไปลงเลือกตั้งใหญ่หรือไม่

พล.ต.อ.พงศพัศ กล่าวว่า ได้ลงพื้นที่มานานก็จะพบปัญหาของประชาชน แต่อำนาจของผู้ว่าฯกทม.และงบประมาณ ทั้งหมดมีความยากจะแก้ปัญหาได้ จึงต้องมีการวางยุทธศาสตร์พัฒนากรุงทพฯอย่างไร้รอยต่อ โดยเฉพาะปัญหาที่อยู่นอกเหนืออำนาจผู้ว่าฯกทม. ต้องได้รับความร่วมมือกับรัฐบาลทั้งงบประมาณ และกลไกต่างๆ โดยจะเน้นไปที่ ความสะดวก ความสะอาด ความปลอดภัย ต้องลงไปแก้ไขตั้งแต่ระดับชุมชน เอากรุงเทพฯออกสู่นอกกรอบเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน นอกจากนี้ อำนาจผู้ว่าฯกทม.มีอำนาจจัดการบางส่วนได้ย่างเบ็ดเสร็จ ในอนาคตอาจจะแก้ไขกฎหมายเพื่อแก้ปัญหาได้ทุกมิติ แต่ข้อจำกัดเรื่องอำนาจผู้ว่าฯกทม.ยังมีอยู่ จึงต้องมีการบริหารจัดการ ที่ตนได้เสนอรถเมล์ฟรีเพื่อต้องการให้ลดรายจ่าย และจัดการบริหารการเดินรถใหม่ โดยลดปริมาณรถเมล์ออกไป 30 เปอร์เซ็นต์ จะเอาไปวิ่งที่เขตหนองจอก ดอนเมือง เป็นต้น โดยนำไปวิ่งที่หน้าหมู่บ้าน ชุมชน จะมีการจัดกำหนดโซนนิ่งตั้งแต่ใจกลางเมือง ถึงพื้นที่ชายขอบ เพื่อให้เกิดโครงข่ายการจราจรโดยรวม

"การมีส่วนร่วมเป็นสีสันของประชาธิปไตย แต่พ่อบ้านกรุงเทพฯต้องใส่ใจเรื่องข้อมูลแล้ว ต้องให้ประชาชนอีกหลายส่วนมาเสนอปัญหาของตัวเอง โดยเฉพาะกระบวนการตรวจสอบมีความจำเป็น หากผู้บริหารผู้ว่าฯกทม.ถูกตั้งข้อสงสัย กระบวนการตรวจสอบก็มีความจำเป็น แต่ต้องมีช่องทางอื่นเพิ่มเติมด้วยเช่นกัน ส่วนในเรื่องการเก็บเงินนอกระบบนั้นเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยตรง"พล.ต.อ.พงศพัศ กล่าว

นายโฆษิต กล่าวว่า แม่ของตนเคยเป็นคนหาบเร่แผงลอย จึงน่าจะเข้าใจเรื่องนี้มากที่สุด เห็นปัญหาจะไม่สามารถแก้ได้หากยังติดกับความขัดแย้งทางการเมือง จึงต้องมีอิสระจากพรรคการเมือง ก็จะเกิดความขัดแย้งมาตลอดหลาย 10 ปี เอาเมืองหลวงไปเกี่ยวกับพรรคการเมือง ทุกคนบอกเมืองไทยดีหมด ยกเว้นนักการเมืองไทยที่ไม่ดี ดังนั้นต้องให้กรุงเทพฯมีคุณภาพ เน้นนโยบายกรุงเทพฯ 24 ชั่วโมง 50 ยุทธศาสตร์ ให้เป็นมหานครแห่งอาเซียน ส่วนเมืองหลวงในหลายประเทศมีการถ่ายอำนาจไปท้องถิ่น ยุทธศาสตร์ไร้รอยต่อต้องเจอด่านแรกในสภากทม. ซึ่งเป็นประชาธิปัตย์ก็เหนื่อยแล้ว ส่วนการแก้ปัญหาจราจรต้องนโยบายกรุงเทพฯ 24 ชั่วโมง อาทิ รถไฟฟ้าเดินทาง 24 ชั่วโมง จะช่วยปัญหาจราจรได้ ต้องมีการติดป้ายจราจรให้เดินทางได้สะดวก หรือใครทำงานตรงไหนก็ไปทำงานตรงนั้นได้ ส่วนการแก้ปัญหาจราจรระยะสั้นต้องมีการเชื่อมโยงจากชุมชนหมู่บ้าน โดยใช้แนวคิดชัตเตอร์บัสตลอด 24 ชั่วโมง หรือสร้างที่ตอดรถยนต์เพิ่มเติมในจุดรถไฟฟ้า และสร้างโมโนเรลเพื่อเข้าสู่ระบบ ให้เป็นโครงข่ายใยแมงมุม และการสร้างพื้นที่ให้เยาวชนนั้น จะมีศูนย์แสดงความสามารถดนตรี บันเทิง กีฬา ให้คนทุกวัยในทุกเขต

พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ กล่าวว่า คนกรุงเทพฯต้องมีคุณภาพดีขึ้น เป็นศูนย์กลางอาเซียน มีความสงบเรียบร้อย รถไม่ติด น้ำไม่ท่วม น้ำใส โรงพยาบาลต้องทันสมัย ผู้สูงอายุ เยาวชนต้องได้รับการดูแล ส่วนผู้สมัคร 24 คนใครจะดูแลเรื่องอาชญากรรม ยาเสพติดได้ดีเท่าตน 1 ปีเปลี่ยนแปลง 4 ปีเรียบร้อย ส่วนการแก้ปัญหาทางเท้าจะต้องให้ทางเท้าสัญจรไปมาได้ โดยพื้นที่ย่านเยาราชในเวลา 1 เดือนจะจัดให้เรียบร้อย ถ้าในเขตหนองจอก ลาดกระบัง ก็ใช้เวลา 7 เดือนในการหาพื้นที่ค้าขายให้ และให้มีตลาดค้าขายเพิ่มเติม อีกทั้งจะให้มีตลาดลอยฟ้ามีบันไดเลื่อน มีการติดเครื่องปรับอากาศให้เป็นพื้นที่ค้าขาขาย ส่วนการดูแลปัญหาปากท้องนั้นตนจะมีแนวคิดจะตั้งโรงทานแต่ละเขตในกรุงเทพฯ ขณะที่ปัญหาการแจกน้ำดื่มมันเล็กน้อยมากที่จะมาถามผู้ว่าฯกทม. ไม่เห็นมาสาระอะไร เพราะเป็นเรื่องของเขตดูแลได้

"ถ้าผมเป็นผู้ว่าฯกทม.จะย้ายกทม.ไปดินแดง จะให้กทม.1 เป็นศูนย์การเรียนรู้ให้คนกรุงเทพฯ โดยโรงเรียนกทม.จะให้มีห้องสมุดประชานได้เข้าไปอ่าน และให้ทุกเขตจะมีพื้นที่การเรียนรู้เพิ่มเติม"พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ กล่าวและว่า ตำแหน่งผู้ว่าฯกทม.การเมืองไม่ควรมาเกี่ยวข้อง ผู้ว่าฯกทม.จากพรรคการเมืองที่ผ่านมาก็โดนคดีทั้งหมด จะเห็นได้ว่าการเมืองใหญ่ต้องการฐานกรุงเทพฯให้ได้ ต้องมีผู้ปกครองไปด้วย

ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า มีการทำผลสำรวจสมัยตตนเป็นผู้ว่าฯกทม.ถึงปัญหาของคนกรุงเทพญว่าต้องการแก้ปัญหาอย่างไร แต่ผู้ว่าฯกทม.ต้องมีนโยบายครบถ้วนทุกกระบวนการ จะมีอำนาจแค่ไหนไม่สำคัญ ต้องทำทุกสิ่งอย่างให้ครบ ตามคำขวัญทั้งชีวิตเราดูแล ตั้งแต่แรกเกิด วัยเรียน วัยทำงาน และผู้สูงอายุ รวมถึงกลุ่มเด็กออติสติก สตรี ผู้พิการ ซึ่งผู้ว่าฯกทม.ต้องตั้งเป้าให้ได้ ไม่นั้นไม่ควรเป็นผู้ว่าฯกทม. ขณะที่เมืองเก่า และเมืองใหม่มีการขีดเส้นตายแล้ว โดยพื้นที่รอบเกาะรัตน์โกสินทร์อยู่ในความดูแลของรัฐบาล โดยคณะกรรมการเกาะรัตนโกสินทร์ สมัยที่ตนเป็นผู้ว่าฯกทม. ได้ยกร่างผังเมืองรวมฉบับที่ 3 การแบ่งแยกพื้นที่ต่างๆจะทำได้ยาก เพราะความเป็นจริงเกิดการผสมผสานระหว่างพาณิชย์ บันเทิง ที่พักอาศัย อาทิ ย่านสุขุมวิท แต่เน้นให้มีพื้นที่สีเขียว ที่สำคัญพื้นที่ต้องสะท้อนกับความเป็นจริง การยกร่างผังเมืองไม่ได้เริ่มจากกระดาษเปล่า แต่ต้องสร้างความสมดุลระหว่างมนุษย์กับสิ่งปลูกสร้างส่วนเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนในด้านกฎหมายคำถามนี้ไม่ค่อยถูกต้อง การมีส่วนร่วมของประชาชนไม่ใช่เรื่องกฎหมายเท่านั้น ชีวิตประชาชนมาทั้งในระดับหมู่บ้าน ชุมชน และระดับเขต ซึ่งกทม.มีชุมชนพึ่งตนเอง ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมได้ การมีส่วนร่วมเกิดตลอดเวลา ส่วนการการแก้ไจกฎหมายก็สามารถทำได้ ซึ่งตนได้เสนอร่างไปแล้ว เพื่อให้กฎหมายมีความเข้มข้นยิ่งขึ้น ที่ผ่านมากทม.ถูกตรวจสอบตลอดเวลา ทั้งที่รักของตน ดีเอสไป เป็นต้น ขณะที่การดูแลปัญหาของคนกรุงเทพฯ ส่วนหนึ่งตนจะมีอาหารเช้าฟรีสำหรับนักเรียนสังกัดกทม. และการศึกษาฟรี ทั้งนี้ เรื่องการอ่านจะมีห้องสมุดการ์ตูนแห่งแรกที่เขตห้วบขวางและฝั่งธนบุรี

นายสุหฤท กล่าวว่า ผู้ว่าฯกทม.ต้องไปดูแลงานประจำในหน้าที่ปรกติที่ทำอยู่ แต่ต้องเน้นการเปลี่ยนความรู้สึกของคนกรุงเทพฯให้ภาคสังคมลุกขึ้นมาเปลี่ยนด้วยกัน ถ้าใช้ไม้เรียวอย่่างเดียว จะไม่มีทางจะมีความสุขยั่งยืน อาทิ ความปลอดภัยบนทางเท้า ปัญหาจราจรที่รีบไปทั้งหมด เอาขยะมาแรกสวนสาธารณะ 50 เขต 50 เสน่ห์ ดูแลโรงเรียนด้วยหัวใจ จักรยานไม่ใช่ลูกเมียน้อย ผู้หญิงต้องมีความสุข หรือชีวิต 2 ด้าน และเมืองแห่งแอพลิเคชั่น นอกจากนี้ จะมีแนวคิดที่ต้องพัฒนา ซึ่งกรุงเทพฯเป็นไข่ดาว จึงต้องมีไข่ดาว 50 ใบ แต่เมื่อไม่สามารถทำอะไรกลุ่มใหญ่ จึงต้องค่ายๆสร้างทั้งหมด 50 ใบล้อมรอบ เพื่อเศรษฐกิจ คมนาคม อีกทั้งต้องมีความเจริญ แต่ไม่ได้พังของเก่าให้หายไป เขตเมืองเก่าต้องรักษาสุดชีวิต อาจะมีการพัฒนาการเพิ่มช็อปปิ้งสตรีท การรักษาอัตลักษณ์กรุงเทพฯเอาไว้ได้ และต้องมีถนนเศรษฐกิจหลักของแต่ละเขต หามีการตลาดเข้าไปเชื่อว่าไข่ดาวจะครบ 50 ให้ได้
ส่วนแก้ปัญหาจราจรต้องมีการคิดว่าจะนำประชาชนออกมาจากหมู่บ้านอย่างไร ต้องให้รถสาธารณะทั้งหมดพุ่งเข้าไปที่รถไฟฟ้าสายหลักเป็นเครือข่ายใยแมงมุม ถ้าไม่มีการเริ่ม คนก็ไม่เลิกขับรถ ตนไม่เชื่อเรื่องประชานิยิมของฟรี เพราะน้ำมันที่ซื้อมาก็ต้องจ่าย ทั้งนี้ ในเรื่องรักการอ่านอยากให้มีหนังสือทุกสถานีรถไฟฟ้า ให้ทุกคนเลิกพิมพ์แล้วหันมาอ่านหนังสือให้มากขึ้น ขณะที่เรื่องสมัครผู้ว่าฯกทม.ของตนนั้น ตนไม่ได้ลงทุนเพื่อไปถอนทุน มีคนบอกต้องเป็นคนบ้ามาเลือกเท่านั้น แต่เมื่อไหร่เลิกคิดพรรคการเมืองคือเจ้าของกรุงเทพฯ ต้องเป็นผู้ว่าฯกทม.อิสระ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น