วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

4 ปีไม่เคยแก้ ? เครือข่ายสลัม4ภาค ยื่น 6 ข้อ "สุขุมพันธุ์ แก้


26 กุมภาพันธ์ 2556 Bangkok Election –  เครือข่ายสลัม 4 ภาค ซึ่งเป็นการรวมตัวของคนจน เมืองในชุมชนแออัด และคน เร่ร่อนไร้ที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะ พื้นที่กรุงเทพมหานคร กว่า 6 เครือข่าย 50 ชุมชน ใน 40 เขต กทม. ได้เข้ายื่นหนังสือต่อม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้สมัครผู้ว่า กทม.จากพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อเสนอมาตรการและนโยบายในการสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนจนเมืองต่อผู้ว่าผู้ว่ากทม. คนใหม่จำนวน 6 ข้อ คือ
1. แก้ไขปัญหาความไม่มั่นคงในที่อยู่อาศัย ให้เกิดความมั่นคงในที่อยู่ อาศัย มีการรับรองสิทธิ ในรูป แบบโฉนด กรณีที่ดินสาธารณะริม คลอง ยกเลิกนโยบายไล่รื้อที่พัก ชุมชน ด้วยมาตรการกฎหมาย หรือใช้ความรุนแรง กทม.ผ่อนปรนการออกทะเบียนบ้านในโครงการที่อยู่อาศัยคนจน ตามเจตนารมณ์กฎกระทรวง ในพ.ร.บ.ควบคุมอาคารด้วย
2.พัฒนา และยกระดับคุณภาพชิวิตคนจนเมือง เช่น การจัดสรรพื้นที่ค้าขาย ดูแลให้กลุ่มอาชีพ ของชุมชน ในสัดส่วน ร้อยละ 30 ของแหล่งค้าขายในกทม.
3. ให้มีนโยบายพัฒนาศักยภาพเยาวชน โดยขอให้มีพื้นที่เรียนรู้สำหรับเยาวชนนอกห้องเรียน
4.สร้างเมืองให้ปลอดภัย ทั้งเรื่องการจราจร การบริการสาธารณะ สุขภาพและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
5. สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน โดยขอให้มีคณะกรรมการในการพัฒนาคุณภาชีวิตของคนไร้บ้าน ที่เป็นกลไกร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคประชาชน จัดพื้นที่ในการขายของให้คนไร้บ้าน จัดห้องน้ำสาธารณะตามจุดต่างๆ ออกบัตรประจำตัวชั่วคราวรับรองคนไร้บ้าน เป็นต้น และ
6. กลไกความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาโดยตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่าง กทม.หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เครือข่ายสลัม 4 ภาค องค์กรภาคเอกชน โดยมี ผู้ว่ากทม. เป็นประธาน

ม.ร.ว. สุขุมพันธ์ กล่าวภายหลังการรับหนังสือว่า ตนพร้อมรับข้อเสนอ เพราะเป็นนโยบายที่สอดคล้องกับตน และพรรคประชาธิปัตย์ ทั้งเรื่อง ที่พักอาศัย ความปลอดภัยของ ชุมชน โดยพรรคมีนโยบายติดตั้ง กล้อง CCTV เพิ่ม 27,000 ทุก ตรอก ซอย ในกทม. รวมถึง นโยบายสตรี มีการให้บริการตรวจ สุขภาพฟรี ซึ่งไม่ใช่เพียงผู้มีสิทธิ ประกันสังคม แต่ครอบคลุมผู้ไม่มี สิทธิ์ด้วย อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง จึงไม่สามารถรับข้อเสนอเป็นการ เฉพาะได้ แต่ยืนยันหากได้รับ เลือกตั้ง จะหยิบยกเรื่องนี้มาพูด คุย เพราะกทม.จะเลือกดูแลไม่ได้ เพราะต้องครอบคลุม เท่าเทียม กัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น