วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

เปิดศึก กทม. “นโยบาย กับ ความรู้สึก” ... “ของจริง กับ ดัมมี่”


Bangkok Election 16 มกราคม 2556


ในกระบวนการประชาธิปไตยอย่างหนึ่งที่นอกเหนือจากการเลือกตั้งระดับประเทศแล้วก็เห็นจะไม่พ้นการเลือกตั้งผู้ทำหน้าที่บริหารมหานครใหญ่อย่าง กทม. ซึ่งก็ได้ผ่านมาแล้ว 4ปี นับเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่ต้องน่าจับตามองเป็นพิเศษในปี 2556  เพราะศึกชิงผู้ว่า กทม.ครั้งนี้ คงมีการแข่งขันกันสูงมาก ระหว่าง 2พรรคใหญ่ ซึ่งด้านหนึ่ง คือ ม...สุขุมพันธ์ บริพัตร จากพรรคประชาธิปัติย์ และอีกด้าน คือ พล...พงศพัศ พงษ์เจริญ จากพรรคเพื่อไทย หากวิเคราะห์จากด้านการทำงานนั้น ต่างฝ่ายต่างมีข้อได้เปรียบ เสียเปรียบต่างกันไปในแต่ละมุมมอง

ด้าน ม...สุขุมพันธ์ อาจได้เปรียบตรงที่ฐานเสียงของพรรคประชาธิปัติย์ใน  กทม.เพราะมีจำนวน ส.. , ..และ ส..มากในแต่ละเขต  แต่หากวิเคราะห์การทำงานตลอด 4ปีที่ผ่านมาอาจเสียเปรียบในด้านผลงาน ด้วยเหตุที่ระยะนี้มักมีเรื่องร้องเรียนด้านการบริหารงานของผูว่าฯกทม.อย่างต่อเนื่อง โดยสืบเนื่องจากกล้องวงจรปิด CCTV , การบริหารจัดการน้ำท่วมเมื่อปลายปี 2554 , กระสอบทรายในท่อระบายน้ำ , อุโมงค์ยักษ์ และ สนามฟุตซอล บวกกับกระแสความขัดแย้งกันภาในพรรคถึงประเด็นการคัดสรรตัวผู้ลงชิงตำแหน่งผู้ว่าฯกทม. ด้วยหตุผลนี้เองอาจทำให้พรรคประชาธิปัติย์สั่นคลอนในเรื่องดังกล่าวอันเป็นจุดสำคัญของคะแนนในการชิงผู้ว่าฯ  จากผลสำรวจจากคน กทม.ถึงเรื่องผลงานนั้น พบว่า คน  กทม.ไม่ประทับใจการทำหน้าที่หรือผลงานเท่าที่ควร

ส่วนทางด้าน พล...พงศพัศ นั้นคงได้เปรียบผลงานในด้านการปราบปรามยาเสพติด ซึ่งเป็นปัญหาหลักของทั้งประเทศ อีกตั้งก็ได้รับความไว้วางในจากประชาชนในฐานะตำรวจ แต่หากมองทางอีกด้านจะพบว่าเป็นรองคู่แข่งอย่างพรรคประชาธิปัตย์เล็กน้อยถึงเรื่องประสบการณ์การทำหน้าที่ บวกกับการมี สก. - สข. กว่า เรียกได้ว่า พรรคเพื่อไทยต้องทำงานหนักกว่าปกติถึงจะได้ครองใจชาวมหานครใหญ่แห่งนี้

แต่สิ่งที่น่าสนใจอีกประการหนึ่ง คือ การทำหน้าที่ของผู้ว่าฯ กทม.นั้นต้องมีการประสานงานที่ดีกับทางรัฐบาล แต่ที่ผ่านมานั้น การทำงานร่วมกันระหว่างรัฐบาล และ ผู้ว่าฯ กทม.ไม่เกิดประสิทธิผลเท่าที่ควร นี่ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่คน กทม.ต้องคิดให้ถี่ถ้วนว่า พวกเขาต้องการผู้ว่าฯ กทม.ที่ประสานงานกับรัฐบาลได้ หรือ ต้องการผู้ที่คานอำนาจกับรัฐบาล

และหากผู้ที่กำลังจะมารัหน้าที่ ผู้ว่าฯ กทม.นั้น นโยบายเดิมๆคงไม่อาจประทับใจได้ นับเป็นเรื่องที่เรียกได้ว่า เป็นการท้าทายผู้ที่จะมาทำหน้าที่บริหาร กทม.อย่างมาก

สิ่งที่ต้องจับตามองในอีกมุมมองก็คือ ทัศนคติของคน กทม.ในการเลือกผู้ว่าฯ และจากที่เคยสำรวจของสำนักโพลต่างๆนั้น พบว่า คน กทม.อยากให้ผู้ว่าฯทำงานร่วมกับรัฐบาลได้ แต่สิ่งที่ขัดแย้งกันนั้น คือ คน กทม.สนใจในพรรคการเมือง มากกว่านโยบาย ซึ่งฐานเสียงของ กทม.ก็ยังคงเป็นพรคประชาธิปัติย์

สิ่งที่คน กทม.ต้องพิจรณาให้ถี่ถ้วนคือ นโยบายที่ตรงกับความต้องการของคน กทม.  โดยปราศจากเหตุผลเรื่องความชอบความเกลียด

Saviour

1 ความคิดเห็น: