วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

"บางกอก ฟุตซอล อารีน่า" ขายหน้าไปเท่าไร ? กว่าจะถึงวันนี้ !


BangkokElection2013 (วันที่ 1 พฤศจิกายน 2555) ตําแหน่ง "เจ้าภาพ" ฟุตซอลชิงแชมป์โลก ครั้งที่ 7 ฟีฟ่า ฟุตซอล เวิลด์คัพ ไทยแลนด์ 2012 ของไทย ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ

ประเด็นที่โผล่มา "หักล้าง" ความโดดเด่นในฐานะเจ้าภาพ และเป็นชาติเอเชีย ที่มีทีม ฟุตซอลที่สามารถต่อกรกับ "มหาอำนาจ" ฟุตซอลได้อย่างไม่อับอายใคร

ก็คือปัญหาการก่อสร้างสนาม "บางกอก ฟุตซอล อารีน่า" ที่ตั้งอยู่ในเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร (กทม.) ล่าช้า
ช้า จนเสร็จไม่ทันพิธีเปิด
ตามแผนเดิมที่ไทย และสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) กำหนดให้เป็นสนามรองรับพิธีเปิดการแข่งขัน วันที่ 1 พฤศจิกายน

"ฟีฟ่า" เอง ก็นั่งไม่ติดเหมือนกัน ส่งทีมงานมาตรวจความพร้อม "บางกอก ฟุตซอล อารีน่า" อย่างต่อเนื่อง

ดู เหมือนว่าปมสนาม "บางกอก ฟุตซอล อารีน่า" เป็นปัญหาใหญ่เรื่องเดียวที่ทำให้ประเทศไทย "ขายหน้า" ไปทั่วโลก กว่าจะรอดตัวไปได้ "ไฟเขียว" แบบใจหายใจคว่ำ ไม่รู้เหมือนกันว่า สิ้นกำลังภายในกันไป เท่าไหร่

หากฟีฟ่าสั่งไม่ให้สนามแห่งนี้ใช้ในการ แข่งขันฟุตซอลโลก 2012 แม้แต่นัดเดียว เชื่อว่าต้องมีรายการ "สาวไส้" กันยาว


เพื่อ ให้เห็นภาพรวมต้องบอกก่อนว่า การ เตรียมการเป็นเจ้าภาพของไทยที่ผ่านมา มีผู้รับ ผิดชอบหลักอยู่ที่ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ในฐานะสมาชิกของฟีฟ่า กทม. ในฐานะเมืองหลักที่ฟีฟ่าเลือกเป็นเจ้าภาพ

หลาย คนสงสัยว่ากระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หายไปไหนเพราะเกมกีฬาระดับนานาชาติ ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลจำเป็นต้องให้การสนับสนุน ซึ่ง ประเด็นนี้อธิบายได้ว่า ช่วงที่ฟีฟ่าเลือก ไทยเป็นเจ้าภาพ กับช่วงการเตรียมงาน จนกระทั่งลุล่วงมาถึงวันนี้ คาบเกี่ยว 2 รัฐบาล คือ รัฐบาลประชาธิปัตย์ และ รัฐบาลเพื่อไทย


สุด ท้าย ปี 2553 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีขณะนั้น เลือกให้ กทม.เป็นผู้รับผิดชอบก่อสร้าง บนที่ดินในเขตหนองจอก มีแผนเตรียมจะพัฒนาเป็นศูนย์กีฬาด้านตะวันออก ของ กทม.ในอนาคต

ต่อมา ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. ตัดสินใจลงนามว่าจ้าง บริษัท อีเอ็มซี จำกัด (มหาชน) รับผิดชอบดำเนินการก่อสร้างเมื่อ วันที่ 13 มกราคม 2555 วงเงิน 1,239 ล้านบาท มีพิธีวางศิลาฤกษ์ วันที่ 24 มกราคม 2555

กทม.ลุยดำเนินการในขณะเหลือเวลา 5 เดือนก่อนเป็นเจ้าภาพ  หลายฝ่ายเริ่มกังวลว่า "บางกอก ฟุตซอล อารีน่า" จะก่อสร้างไม่เสร็จทันกำหนดการเป็นเจ้าภาพ

ขณะ ที่อีก 3 สนามที่กำหนดไว้ ได้แก่ อินดอร์สเตเดียม หัวหมาก นิมิบุตร สนามกีฬาแห่งชาติและโคราชชาติชาย ฮอลล์ จ.นครราชสีมา ไม่น่าเป็นห่วง เพราะทั้ง 3 สนามแค่ปรับพื้นที่ให้เป็นไปตามสเปกที่ฟีฟ่าต้องการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น