11 กุมภาพันธ์ 2556
Bangkok Election - นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว. ได้ชี้แจงต่อสื่อมวลชน ประเด็นที่ประธาน กกต. กทม. สงสัยว่า
นายเรืองไกร ไปร้อง กกต. กทม. นั้น อาศัยสิทธิอะไร ? โดยนายเรืองไกร ได้ชี้แจง ดังนี้
1.
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 มาตรา
27 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ในกรณีที่มีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
ให้ผู้พบการกระทำความผิดแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจหรือเจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยในการเลือกตั้งหรือเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำที่เลือกตั้ง”
2. พระราชบัญญัตินี้ มาตรา 57 บัญญัติว่า “เมื่อมีการประกาศให้มีการเลือกตั้งในกรณีอื่นนอกจากถึงคราวออกตามวาระการดำรงตำแหน่งของสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
ห้ามมิให้ผู้สมัครหรือผู้ใดกระทำการเพื่อจูงใจผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ตนเองหรือผู้สมัครอื่น
หรือให้งดเว้นการลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัครใดด้วยวิธีการดังนี้
(1) จัดทำ ให้ เสนอให้ สัญญาว่าจะให้
หรือจัดเตรียมเพื่อจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้แก่ผู้ใด
(2) ให้ เสนอให้ หรือสัญญาว่าจะให้เงิน
ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมแก่ชุมชน สมาคม มูลนิธิ
วัด สถาบันการศึกษา สถานสงเคราะห์
หรือสถาบันอื่นใดที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา
(3)
ทำการโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งด้วยการจัดให้มีมหรสพหรือการรื่นเริงต่าง ๆ
(4) เลี้ยงหรือรับจะจัดเลี้ยงผู้ใด
(5) หลอกลวง บังคับ ขู่เข็ญ
ใช้อิทธิพลคุกคาม ใส่ร้าย จูงใจให้เข้าใจผิดในเรื่องใดอันเกี่ยวกับผู้สมัครใด”
3. ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ข้าฯ
เป็นผู้พบการกระทำความผิดตามความในมาตรา 57 วรรคหนึ่ง (5)
ต่อกรณีตามข้อเท็จจริงในคำร้องดังกล่าว จึงสามารถร้องมายังประธาน กกต. กทม. ได้
4.
ข้าพเจ้าควรเป็นผู้มีส่วนได้เสียเพราะเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่า กทม. ลำดับที่
150 หน่วยเลือกตั้งที่ 34 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท
ตามหนังสือของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร (ผ.ถ. 10)
5. ผู้มีส่วนได้เสีย
มีแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4563/2544 ที่ย่อไว้ว่า “โจทก์ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลแล้ว
จำเลยได้พูดผ่านเครื่องกระจายเสียงว่า
โจทก์เป็นคนขี้โกงเอาที่สาธารณประโยชน์เป็นของตนเอง
เพื่อให้ประชาชนต่อต้านการกระทำที่จำเลยเห็นว่าไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
เพราะการที่โจทก์เสนอตัวต่อประชาชนให้เลือกตน
เป็นการแสดงว่าตนเป็นคนดีมีความซื่อสัตย์สุจริต
ไว้วางใจให้เข้าไปมีส่วนร่วมบริหารกิจการแทนประชาชนได้
และการเรียกร้องเอาที่สาธารณประโยชน์คืนก็เพื่อประโยชน์ของประชาชนและจำเลยเองด้วย
จำเลยจึงมีความชอบธรรมที่จะเปิดเผยให้ประชาชนทราบเพื่อป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม
ตลอดจนแสดงความคิดเห็นติชมด้วยความเป็นธรรมซึ่งการกระทำดังกล่าวอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ
แม้ขณะจำเลยกล่าวถ้อยคำดังกล่าว โจทก์ยังไม่ถูกดำเนินคดีอาญา
หากจำเลยเชื่อโดยบริสุทธิ์ใจ
มิได้มีเจตนากลั่นแกล้งใส่ร้ายโจทก์และมีมูลอันควรเชื่อ
ก็เป็นการกระทำโดยสุจริตแล้ว จำเลยไม่มีความผิด”
6.
ต่อกรณีการยื่นหนังสือร้องของข้าพเจ้าเมื่อเช้าวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2556
ต่อหน้าสื่อมวลชนนั้น ต่อมาในวันเดียวกันเวลาก่อนเที่ยง
พนักงานสืบสวนสอบสวนของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานคร
ได้โทรศัพท์เรียกข้าพเจ้าไปสอบถามและได้ออกใบรับคำร้องคัดค้านให้แล้ว
ตามใบรับของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานคร เล่มที่ 1 เลขที่ 05
รับวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 11.20 น.
โดยให้บันทึกเพิ่มเติมในท้ายหนังสือคำร้องว่า “ตามคำร้อง
ข้าพเจ้ามิได้พบเห็นเหตุการณ์ด้วยตนเอง
แต่ได้นำหลักฐานที่ปรากฏทางสื่อมวลชนและเว็บไซต์ต่าง ๆ มาร้อง ทั้งนี้
ได้ยื่นคำร้องต่อประธาน กกต. ด้วยเอกสารฉบับเดียวกัน”
7. ดังนั้น ถ้าประธาน กกต. กทม. เห็นว่า
ข้าพเจ้าไม่ใช่ “ผู้พบการกระทำความผิด” ตามความในมาตรา
27 วรรหนึ่ง และประธาน กกต. กทม. เห็นว่า กกต. กทม.
ไม่มีหน้าที่ดำเนินการตามที่กฎหมายบัญญัติ
ขอให้ส่งเรื่องนี้ไปยังผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง คือ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ด้วย
ทั้งนี้ ตามความในมาตรา 135
ที่ให้ให้ถือว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือผู้สมัครในเขตเลือกตั้งนั้นเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น