19 กุมภาพันธ์ 2556
Bangkok Election - นายนพดล กรรณิกา ผอ.สำนักวิจัยเอแบคโพลล์
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง
ศึกษาเปรียบเทียบความตั้งใจจะไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ของคนกรุงเทพมหานคร
ตั้งแต่โค้งที่ 1 ถึงโค้งที่ 4 ศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพฯ
2,498 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 15-18 ก.พ. ค่าความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7 พบว่า
ร้อยละ 82.1 ระบุนโยบายต่างๆ
ของกลุ่มผู้สมัครที่นำเสนอต่อสาธารณชนมีความเหมาะสมแล้ว
และแนวโน้มของประชาชนที่ตั้งใจใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. เพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ
50.6 ในโค้งที่ 3 มาอยู่ที่ร้อยละ 59.7 ในการสำรวจโค้งที่ 4
แนวโน้มความตั้งใจจะเลือกผู้สมัครผู้ว่าฯกทม.
เปรียบเทียบโค้งที่ 1 ถึงโค้งที่ 4 พบว่า ความตั้งใจของประชาชนระบุ พล.ต.อ.พงศพัศ
พงษ์เจริญ เพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 43.9 ในโค้งที่ 3 มาอยู่ที่ร้อยละ 46.6 ในโค้งที่
4
ขณะที่ความตั้งใจของประชาชนที่ระบุ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร
ลดลงจากร้อยละ 37.6 ในโค้งที่ 3 มาอยู่ที่ร้อยละ 29.9 ในโค้งที่ 4
นายนพดล กล่าวว่า จะเห็นว่า ผลสำรวจครั้งนี้ พล.ต.อ.พงศพัศ มีคะแนนสนับสนุนทิ้งห่าง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์
ออกไปอีกแบบก้าวกระโดดจาก 6 จุด ในการสำรวจครั้งที่ 3 เป็น 16.7 จุด
ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าศึกษาวิจัยในวิชารัฐศาสตร์และระเบียบวิธีวิจัยต่อไปว่าอะไรเป็นสาเหตุสำคัญที่มีผลต่อความนิยมของผู้สมัครเพราะฐานสนับสนุนของประชาชนต่อพล.ต.อ.พงศพัศ
เพิ่มขึ้นจากเดิมเพียง 2.7 จุดเท่านั้น
แต่ส่งผลให้มีคะแนนทิ้งห่าง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์
ออกไปถึง 16.7 จุด ซึ่งเป็นไปได้หรือไม่ว่า การขึ้นเวทีปราศรัยด้วยถ้อยคำที่ขัดต่อบุคลิกภาพเรื่องความสุภาพและขัดต่อความคาดหวังของประชาชนที่เคยสนับสนุน
นอกจากนี้ ยิ่งมีข่าวว่าพรรคประชาธิปัตย์จะออกยุทธศาสตร์รื้อฟื้นความทรงจำของประชาชนเรื่อง
“เผาบ้านเผาเมือง” ที่เป็นภาพความขัดแย้งรุนแรงแตกแยกของคนในชาติออกมาหวังตีคะแนนนิยมผู้สมัครคนอื่นอีก
น่าจะส่งผลเสียต่อผู้สมัครของพรรคได้ เพราะประชาชนส่วนใหญ่เบื่อความขัดแย้งรุนแรง
แต่อยากเห็นบ้านเมืองสงบร่มเย็นมากกว่า
เมื่อจำแนกออกตามเพศยังพบว่า
กลุ่มตัวอย่างเพศชายร้อยละ 47.6
ระบุพล.ต.อ.พงศพัศ ร้อยละ 29.7 ระบุม.ร.ว.สุขุมพันธุ์
และที่เหลือระบุผู้สมัครคนอื่นๆ และใน
กลุ่มตัวอย่างผู้หญิงร้อยละ 45.8
ระบุพล.ต.อ.พงศพัศ ร้อยละ 30.1 ระบุม.ร.ว.สุขุมพันธุ์
เมื่อจำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า
กลุ่มตัวอย่างที่
สูงกว่าปริญญาตรีร้อยละ 34.0
ระบุม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ร้อยละ 25.5 ระบุ พล.ต.อ.พงศพัศ
ต่ำกว่าปริญญาตรีร้อยละ 49.8
ระบุพล.ต.อ.พงศพัศ ร้อยละ 27.7 ระบุม.ร.ว.สุขุมพันธุ์
กลุ่มตัวอย่างปริญญาตรีร้อยละ 40.2 ระบุ
พล.ต.อ.พงศพัศ ร้อยละ 34.9 ระบุม.ร.ว.สุขุมพันธ์
ที่น่าสนใจ หากจำแนกตามระยะเวลาของคนอายุ 18
ปีขึ้นไปที่มีชื่อในทะเบียนบ้านในกรุงเทพฯ พบว่า กลุ่มที่มีชื่อในทะเบียนบ้านระหว่าง
1 –
5 ปี ร้อยละ 57.3 ระบุพล.ต.อ.พงศพัศ ร้อยละ 14.7
ระบุม.ร.ว.สุขุมพันธ์
กลุ่มที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน 5 –
10 ปี ร้อยละ 47.3 ระบุพล.ต.อ.พงศพัศ ร้อยละ 27.8 ระบุ
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์
กลุ่มที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน 10 –
15 ปี ร้อยละ 42.2 ระบุพล.ต.อ.พงศพัศ ร้อยละ 35.3
ระบุม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กลุ่มที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านมากกว่า 15
ปีขึ้นไปจนถึงเป็นคนกรุงเทพฯตั้งแต่เกิด ร้อยละ 46.5 ระบุพล.ต.อ.พงศพัศ ร้อยละ
30.4 ระบุม.ร.ว.สุขุมพันธุ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น