ผลการสำรวจพบว่าคนส่วนใหญ่
อยากให้ร่วมมือกันทำงาน เพื่อบ้านเมืองดีกว่า เพราะมองว่าเป็นการเล่นเกมการเมืองของพรรค
การเมืองต่างขั้ว ร้อยละ 43.33 มองว่าวิวาทะเรื่องนํ้าท่วมสร้างผลเสียแก่ผู้ว่าราชการ
กทม. และร้อยละ 49.55
มองว่ากระทบคะแนนนิยมและฐานเสียงสำคัญใน กทม. ของพรรคประชาธิปัตย์
วิวาทะเรื่องนํ้าท่วม ที่กทม.มีต่อรัฐบาลเปิดฉากขึ้นตั้งแต่เมื่อเกิดนํ้าท่วมใหญ่
2554
ทะเลาะกันเรื่อยมาจนถึงปี 2555 ในขณะที่นํ้ายังไม่ท่วม กทม.
แต่ขัดแย้งกันเรื่องการจ่ายเงินชดเชยผู้ประสบอุทกภัย และการล้างท่อระบายนํ้าใน
กทม. เพื่อเตรียมรับมือนํ้าท่วมรอบใหม่ จากผลของโพลพบว่าคน
กทม.ส่วนใหญ่มองว่าเป็นเรื่องการเมือง ไม่ใช่เรื่องนํ้าท่วม
แม้แต่การโต้เถียงกันเรื่องถุงทรายในท่อระบายนํ้า ซึ่งคู่โต้เถียงพยายามทำให้เป็นเรื่องของเทคโนโลยี
ฝ่ายหนึ่งอ้างว่าเป็นเทคนิคในการป้องกันนํ้าท่วม แต่ชาว
กทม.มองว่าไม่ใช่การเถียงกันในเรื่องเทคนิคการ บริหารจัดการนํ้า
แต่เป็นเกมการเมือง เข้าลักษณะที่ว่า “เอาดีใส่ตัว เอาชั่วใส่คนอื่น”
ผลการสำรวจความเห็นของชาว กทม.ยืนยันผลการสำรวจครั้งก่อนๆ
ที่พบว่าคนไทยส่วนใหญ่ไม่ชอบให้นักการเมืองทะเลาะกัน
และรู้สึกเบื่อหน่ายการเมืองและนักการเมืองที่เอาแต่ทะเลาะกัน ทั้งในสภา และนอกสภา
แต่คนไทยส่วนใหญ่ต้องการการเมืองที่สร้างสรรค์ และให้ความร่วมมือซึ่งกันแลกัน
การมุ่งเอาชนะซึ่งกันและกันด้วยวาทะ มุ่งหาเสียงหรือสร้างภาพให้ดูดี
ไม่ใช่การเมืองสร้างสรรค์ เรื่องที่น่าเป็นห่วงที่สุดก็คือ ในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมา
นักการเมืองตอบโต้ซึ่งกันและกันยังไม่พอ ยังใช้สื่อต่างๆทั้งวิทยุ โทรทัศน์
และหนังสือพิมพ์ ปลุกระดมชาวบ้านให้ร่วมขบวนการในการสร้างความเกลียดชัง
และนำไปสู่ความรุนแรงอย่างน่าเศร้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น