นางสาวปารีณา
ประยุกต์วงศ์
ผู้จัดการเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจและประชาสังคม
เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (The
NETWORK of NGO and Business Partnerships for Sustainable Development ) สมาชิกกลุ่มรักษ์อนุสาวรีย์ กล่าวว่า ทางกลุ่มได้ยื่นข้อเรียกร้องให้
กทม.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบ
1.ขอให้เปิดเผยสัญญาระหว่างกทม.
กับบริษัทที่รับสัปทาน ทั้ง 3 บริษัท
2. ขอให้ กทม.
เปิดเผยจำนวนร้านค้าแผงลอย ที่ได้รับการผ่อนผันทั่วเกาะอนุสาวรีย์
และขอให้ทางตำรวจเปิดเผยจำนวนรถตู้ที่อยู่รอบเกาะทั้ง 4 เกาะ
3. เรื่องพื้นที่สาธารณะ
ห้ามตัดต้นไม้ และอยากเห็นภาพ แลนด์สเคปที่จะปรับปรุงทั้ง
4 เกาะ และสุดท้าย
ตรงโรงพยาบาลราชวิถีจำนวนรถตู้และร้านค้ามีเป็นจำนวนมาก
ทำให้มีปัญหาการรรับ-ส่งผู้ป่วย ขอให้ยกเลิกการผ่อนผันทั้งรถตู้และร้านค้า แต่
กทม. ก็แบ่งรับแบ่งสู้ในเรื่องการยกเลิการผ่อนผันร้านค้า ส่วนเรื่องรถตู้
บชน.ก็แบ่งรับแบ่งสู้เช่นเดียวกัน
“เราต้องการให้มีพื้นที่สีเขียว
มีสวนหย่อมบ้าง
ซึ่งอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเคยมีสวนหย่อมเล็ก ๆ แต่ตอนนี้หายไป
มีร้านค้าเข้ามาแทนที่ เราต้องการให้มีการจัดระเบียบใหม่ทั้งหาบเร่
แผงลอย และจัดระเบียบรถตู้
เพราะตอนนี้สภาพอนุสาวรีย์สมรภูมิกลายเป็นหมอชิต 2 , สถานี เอกมัย ,สถานีขนส่งสายใต้ และจตุจักร 2 ไปแล้ว” นางสาวปารีณา กล่าว
จากผลการหารือได้มีการตั้งคณะทำงานติดตามปัญหาอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
และทาง กทม. ได้ให้กลุ่มรักษ์อนุวาสรีย์เข้าเป็นกรรมการด้วย โดยจะประชุม อีก 2
สัปดาห์ข้างหน้า
ทั้งนี้ในส่วนของสัญญาสัปทานทั้ง 3 สัญญา ทางกทม.
จะนำมาเปิดเผยในการประชุมครั้งหน้า
พญ.มาลินี
กล่าวว่าทางกทม.จะเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมในแผนปรับภูมิทัศน์ในบริเวณรอบ
ๆ อนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยขณะนี้ทาง
กทม.ได้ให้ดำเนินการประมูลให้กับบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในการพัฒนาและปรับปรุงพื้นที่โดยรอบอนุเสาวรีย์ฯและคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า
“กทม.จะปรับปรุงให้พื้นที่อนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิเป็นพื้นที่สำหรับสูดอากาศสดชื่นและมีพื้นที่สาธารณะสำหรับทำกิจกรรมมากขึ้น
โดยทางกทม.จะเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้มากขึ้นและจะไม่ตัดต้นไม้ที่มีอยู่เดิม
นอกจากนี้กทม.จะพัฒนาพื้นที่นี้โดยอยู่บนพื้นฐานของการสร้างอนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิและให้ทหารเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา”
รองผู้ว่ากทม.กล่าว
ในส่วนของการจัดระเบียบรถตู้ทั้งที่ผิดกฎหมายและถูกกฎหมายนั้น
พญ.มาลินีกล่าวว่า
ทางกทม.จะหารือกับทางกองบัญชาการตำรวจนครบาลและองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
(ขสมก.)เพื่อหาแนวทางจัดระเบียบรถตู้รอบ ๆ บริเวณอนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยเบื้องต้นอาจให้รถตู้ย้ายวินไปยังสถานที่อื่นและเมื่อผู้โดยสารพร้อมแล้วจึงให้รถตู้วิ่งมารับผู้โดยสารบริเวณจุดจอด
สำหรับการจัดระเบียบหาบเร่แผงลอยนั้นอาจจะต้องไปดูจุดผ่อนผันในพื้นที่
“ทางกทม.จะลงพื้นที่อีก
2
อาทิตย์ข้างหน้าเพื่อเอาแผนปรับภูมิทัศน์ไปให้คนในพื้นที่ดูว่าเห็นด้วยกับแผนที่จะปรับปรุงหรือไม่และจะจัดระเบียบกันอย่างไร
ซึ่งกทม.จะเปิดโอกาสให้ทุกคนได้เข้ามามีส่วนร่วมในแผนนี้ด้วย”
พญ.มาลินีกล่าว
นายรัชพล
ไกรจิรโชติ สมาชิกกลุ่มคนรักษ์อนุสาวรีย์ กล่าวว่า
พื้นที่อนุเสาวรีย์ชัยมีพื้นที่อยู่ 4 ด้าน
ที่เป็นป้ายรถเมล์และเป็นลานกิจกรรมใหญ่
เดิม กทม.ให้เอกชนทำเป็นคล้าย ๆ
สัญญาสัปทานเพื่อที่จะปรับปรุงพื้นที่ให้เป็นลานกิจกรรม มีทั้งพื้นทีค้าขาย
พื้นที่สาธารณะที่จะใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อย่างเช่นสวนหย่อมต่าง ๆ
หลายปีที่ผ่านมา มีการใช้พื้นที่ผิดประเภท
กลายเป็นร้านอาหารขายเหล้าขายเบียร์และในที่สุดกลายเป็นตลาดนัดในที่สุดไปทั้งหมด สวนหย่อม ๆ แรกที่
ๆเคยมีคนไปออกกำลังกายเต้นแอโรบิคได้บ้างมีการจัดการกิจกรรมของนักเรียนหรือให้ความรู้
องค์กรสาธารณะ หลัง ๆ ก็ไม่มี ซึ่งทาง กทม.ก็ไม่ใครมาดูแลเรื่องนี้
สัญญาของเขาพอครบไป 8-9 ปี ตอนนี้มีการต่อสัญญารอบใหม่
แต่ว่าทางกลุ่มคนรักษ์อนุเสาวรีย์ประกอบไปด้วยคนที่เป็นที่อาศัยย่านนี้
ผู้ที่ใช้ชีวิตในด้านนี้ องค์กรสาธารณะต่าง ๆ รวมทั้งสถานประกอบการ โรงพยาบาล
คลินิกโรงเรียน กลับไม่รับรู้เรื่องดังกล่าว
นายรัชพล กล่าวต่อว่า
ทางกลุ่มคนรักษ์อนุสาวรีย์ ก็มีการรวมตัวมาคุยกันว่า พื้นที่รอบอนุเสาวรีย์ชัยฯ
ที่เป็นสวนหย่อมได้กลายเป็นอย่างอื่นไปแล้วและตอนนี้
กทม.มีการปรับปรุงเราก็อยากให้กทม.เปิดโอกาสให้ชุมชนเข้าไปมีส่วนร่วม ในการดูว่า
พื้นที่ตรงนี้นอกจากเอกชนที่จะใช้เพื่อการค้าขายและเข้ามาลงทุนแล้ว
ในส่วนพื้นที่ที่จัดสรรเป็นพื้นที่สาธารณะจะใช้งานทำอะไร
เท่าที่ผ่านมามีการใช้งานผิดวัตถุประสงค์ ไม่มีการดูแล
และสร้างความเดือดร้อนให้กับชุมชน
“เราก็อยากให้ชุมชนเข้าไปมีบทบาทรับฟังนโยบายของ
กทม. เป็นอย่างไรและหลังจากที่ปรับปรุงเสร็จแล้ว
กทม.มีนโยบายที่จะดูแลพื้นที่อย่างไร มีการกำกับการใช้พื้นที่อย่างไร
อยากให้ชุมชนเข้าไปมีโอกาสแสดงความคิดเห็นและมีส่วนใช้ประโยชน์ในพื้นที่สาธารณะ
ถ้าเป็นกิจกรรมเพื่อสังคมและเพื่อประโยชน์ส่วนร่วมน่าจะมีโอกาสเข้าไปใช้พื้นที่ไม่ใช่เป็นเอกชนหรือใครคนใดคนหนึ่งตัดสินว่าพื้นที่สาธารณะตรงนี้จะทำอะไร
ทำอะไรไม่ได้
คือสิ่งที่เราอยากให้กทม.ได้เปิดโอกาสให้ชุมชนและเรามีส่วนร่วมในเรื่องนี้” สมาชิกกลุ่มคนรักษ์อนุสาวรีย์
กล่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น